บริษัท เอเวอร์แกรนด์ (Evergrande) ของจีน ได้เริ่มชำระเงินคืนนักลงทุนในธุรกิจบริหารจัดการความมั่งคั่งในอสังหาริมทรัพย์ของทางบริษัทแล้ว ขณะที่บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีหนี้สินมากที่สุดในโลกแห่งนี้เผชิญกับบททดสอบสำคัญในสัปดาห์นี้

มีรายงานว่า ธนาคารขนาดใหญ่หลายแห่งได้รับแจ้งว่า พวกเขาจะไม่ได้รับการชำระดอกเบี้ยเงินกู้ที่มีกำหนดชำระในวันที่ 20 ก.ย. นี้ ส่วนการจ่ายดอกเบี้ยหุ้นกู้ของบริษัท 84 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 2,800 ล้านบาท) ก็กำลังจะถึงกำหนดจ่ายในวันที่ 23 ก.ย. นี้เช่นกัน

มูลค่าหุ้นของบริษัทลดลงมากกว่า 10% ในการซื้อขายที่ฮ่องกงเมื่อวันจันทร์ (20 ก.ย.)

ปัญหาหนี้ที่รุนแรงของยักษ์ใหญ่อสังหาริมทรัพย์แห่งนี้ ทำให้เกิดความกังวลขึ้นว่า หากบริษัทล้มละลาย อาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจจีนได้

ทำไม เอเวอร์แกรนด์ จึงมีปัญหา

เอเวอร์แกรนด์ เติบโตขึ้นเป็นหนึ่งในบริษัทที่ใหญ่ที่สุดของจีนด้วยการกู้ยืมเงินมากกว่า 300,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 10 ล้านล้านบาท)

ปีที่แล้ว รัฐบาลปักกิ่งได้บังคับใช้กฎเกณฑ์ใหม่ในการควบคุมปริมาณหนี้ของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่

มาตรการใหม่นี้ ทำให้เอเวอร์แกรนด์ต้องเสนอขายอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทออกไปในราคาต่ำ เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีเงินไหลเข้ามาในการดำเนินธุรกิจต่อไปได้

ปัจจุบัน ทางบริษัทกำลังดิ้นรนเพื่อหาเงินมาจ่ายดอกเบี้ยของหนี้ที่บริษัทถืออยู่

ความไม่แน่นอนนี้ ทำให้ราคาหุ้นของเอเวอร์แกรนด์ ลดลงแล้วราว 85% ในปีนี้ ส่วนบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือระดับโลกหลายแห่งก็ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือหุ้นกู้ของบริษัทนี้ลง

เอเวอร์แกรนด์ 1

ทำไมการล้มละลายของ เอเวอร์แกรนด์ จึงส่งผลกระทบมหาศาล

มีหลายเหตุผลว่า ทำไมปัญหาของเอเวอร์แกรนด์จึงมีความรุนแรง

ประการแรก คนจำนวนมากซื้ออสังหาริมทรัพย์จากเอเวอร์แกรนด์ ก่อนที่จะเริ่มมีการก่อสร้าง พวกเขาจ่ายค่ามัดจำแล้วและอาจจะเสียเงินจำนวนนั้นไป ถ้าบริษัทล้มละลาย

นอกจากนี้ยังมีหลายบริษัทที่ทำธุรกิจกับเอเวอร์แกรนด์ บริษัทเหล่านั้น รวมถึง บริษัทออกแบบ บริษัทก่อสร้าง และบริษัทขายวัสดุต่าง ๆ กำลังเสี่ยงที่จะขาดทุนมหาศาล ซึ่งอาจจะทำให้บริษัทล้มละลายได้เช่นกัน

ประการที่สามคือ อาจส่งผลกระทบต่อระบบการเงินของจีน

แมตที เบคิงก์ จาก อีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต (Economist Intelligence Unit—EIU) ซึ่งเป็นหน่วยวิเคราะห์ข้อมูลทางเศรษฐกิจของนิตยสาร ดิ อีโคโนมิสต์ กล่าวกับบีบีซีว่า “ผลกระทบทางการเงินจะกว้างมาก มีรายงานว่า เอเวอร์แกรนด์มีหนี้กับธนาคารในประเทศ 171 แห่ง และบริษัททางการเงินอื่น ๆ อีก 121 แห่ง”

ถ้าเอเวอร์แกรนด์ผิดนัดชำระหนี้ ธนาคารและผู้ให้กู้ยืมเงินอื่น ๆ ก็อาจจะปล่อยกู้ได้น้อยลง

ปัญหานี้อาจจะนำไปสู่สิ่งที่เรียกว่า สินเชื่อตึงตัว หรือ เครดิต ครันช์ (credit crunch) ซึ่งบริษัทต่าง ๆ ประสบปัญหาในการกู้ยืมเงินในอัตราดอกเบี้ยที่สามารถจ่ายได้

สินเชื่อตึงตัว จะเป็นข่าวร้ายอย่างยิ่งสำหรับจีนที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก เพราะบริษัทต่าง ๆ ที่ไม่สามารถกู้ยืมได้ จะขยายตัวได้ยาก และในบางกรณีจะไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้

เรื่องนี้อาจจะทำให้นักลงทุนต่างชาติตกใจ พวกเขาอาจมองว่า จีนเป็นที่ที่มีความน่าดึงดูดใจในการลงทุนลดลง

เอเวอร์แกรนด์ “ใหญ่เกินไปที่จะล้ม” หรือไม่

ผลกระทบร้ายแรงอย่างยิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้จากการล้มละลายของบริษัทที่มีหนี้สินมหาศาลเช่นนี้ ทำให้นักวิเคราะห์บางส่วนแนะนำให้รัฐบาลจีนเข้ามาช่วยเหลือ

แมตที เบคิงก์ จาก EIU เห็นด้วยว่า “แทนที่จะเสี่ยงทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นกับห่วงโซ่อุปทาน และสร้างความไม่พอใจต่อเจ้าของบ้าน เราคิดว่า รัฐบาลน่าจะหาทางในการสร้างความมั่นใจว่า ธุรกิจหลักของเอเวอร์แกรนด์จะอยู่รอดได้”

ขณะที่อีกหลายคนไม่ค่อยมั่นใจ

หู ซีจิ้น หัวหน้าบรรณาธิการผู้ทรงอิทธิพลของหนังสือพิมพ์โกลบอล ไทมส์ (Global Times) ที่ทางการจีนสนับสนุน โพสต์ทาง วีแซต (WeChat) ซึ่งเป็นโซเชียลมีเดียและแอปพลิเคชันสนทนาของจีน ว่า เอเวอร์แกรนด์ไม่ควรพึ่งเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล และควรที่จะเอาตัวรอดด้วยตัวเอง

ความเห็นนี้สอดคล้องกับเป้าหมายของรัฐบาลจีนในการควบคุมหนี้บริษัทขนาดใหญ่ ซึ่งหมายความว่า การให้เงินช่วยเหลือก้อนโตเช่นนี้ อาจจะถูกมองว่า เป็นการสร้างตัวอย่างที่ไม่ดี

เอเวอร์แกรนด์ทำธุรกิจอะไรบ้าง

สวี่ เจียอิ้น นักธุรกิจก่อตั้งเอเวอร์แกรนด์ขึ้น หรือในอดีตเป็นที่รู้จักกันในชื่อ เหิงต้า กรุ๊ป (Hengda Group) ในปี 1996 ในนครกว่างโจว ทางตอนใต้ของจีน

บริษัทอสังหาริมทรัพย์เอเวอร์แกรนด์ ปัจจุบันเป็นเจ้าของโครงการต่าง ๆ มากกว่า 1,300 แห่ง ในกว่า 280 เมืองทั่วประเทศจีน

เอเวอร์แกรนด์ กรุ๊ป ได้ขยายธุรกิจออกไปมากกว่าด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

ธุรกิจต่าง ๆ ของเอเวอร์แกรนด์มีหลายหลายตั้งแต่ บริหารจัดการความมั่งคั่ง, การผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม ทางบริษัทเป็นเจ้าของหนึ่งในสโมสรฟุตบอลที่ใหญ่ที่สุดของจีนด้วยคือ กว่างโจว เอฟซี (Guangzhou FC)

ฟอร์บส์ ระบุว่า นายสวี่ มีทรัพย์สินส่วนตัวมูลค่าประมาณ 10.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3.54 แสนล้านบาท)

วิกฤติเอเวอร์แกรนด์ ให้บทเรียนเราอย่างไร

บทเรียนสำคัญจากกรณี Evergrande คือ บริษัทขนาดใหญ่ที่มิใช่สถาบันการเงินสามารถส่งผ่านความเสี่ยงต่อเสถียรภาพของระบบการเงินได้ การติดตามสถานะและความเสี่ยงของบริษัทที่มีความสำคัญต่อระบบแบบ Evergrande เพื่อให้สามารถตัดไฟตั้งแต่ต้นลมได้ จึงมีความจำเป็นมากในการดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน ซึ่งในกรณีนี้ ทางการจีนปล่อยให้ปัญหาลุกลามใหญ่โตเกินไป


ข่าวอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ราคาทองวันนี้ล่าสุด 8 ก.พ. 66
กนง.เอกฉันท์ขึ้นดอกเบี้ย 0.25% เงินเฟ้อปีหน้า
ไทยเตรียมส่งกลับพม่า เปิดใจมิสแกรนด์เมียนมา หลังถูกควบคุมตัว
อดีตแชมป์โอลิมปิกด้านรูปร่างและพาคุณแม่ว่ายน้ำ
ติดตามข่าวอื่นๆได้ที่ https://wardellinger.com/
สนับสนุนโดย  ufabet369
ที่มา www.bbc.com